2553-08-28

Quilling Border

กรอบข้อความควิลลิ่ง

Quilling Border

งานควิลลิ่ง ชิ้นนี้คือ Quilling Border หรือ กรอบข้อความควิลลิ่ง จริงๆแล้ว Quilling Border ชิ้นนี้เป็นผลงานชิ้นแรก ที่ทำเกี่ยวกับควิลลิ่ง  ซึ่งถ้าพูดถึงงานควิลลิ่ง (Quilling) ในบ้านเราแล้วส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อนี้ เพราะใช้ชื่ออื่นในการเรียกกัน บางคนก็เรียกว่า งานม้วนกระดาษ หรือ ศิลปะการม้วนกระดาษ  มาถึงตอนนี้ก็เลยเริ่มเข้าใจว่า จริงๆแล้วในประเทศไทย ก็มีคนทำงานควิลลิ่งอยู่ แต่ที่เราหาไม่เจอหรือถามใครก็ไม่ค่อยมีใครรู้จักก็อาจเป็นเพราะการเรียกชื่อที่ต่างกัน กรอบข้อความชิ้นนี้มี ขนาดประมาณ  15x20 cm. ตอนที่ทำเสร็จก็คิดอยากจะทำให้คนอื่้นๆบ้างเช่นในโอกาสพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงานรับปริญญา งานแต่งงาน งานครบรอบ งานฉลองต่างๆ ซึ่งกรอบข้อความนี้ก็สามารถให้เป็นของขวัญได้ เช่นกัน ผู้ที่ได้รับก็คงจะดีใจด้วย เพราะต่างจาก Border แบบอื่นๆที่เคยเห็น  ที่ชอบงานควิลลิ่งเพราะเป็นงานที่ดูคลาสสิค ปราณีต สวยหรู งานทุกชิ้นดูมีมิติ น่าสนใจ พอมาถึงบทความนี้ทุกคนก็อาจจะเห็นภาพที่เกิดจาก งานควิลลิ่ง ได้มากขึ้น ซึ่งจากบทความก่อนก็มีผลงานหลายๆแบบให้ไ้ด้ชมกัน ไม่ว่าจะเป็น Quilling Miniatures  Handmade Card  Quilling Cross  โดยทั่วไปแล้วถ้าพูดถึง border ( กรอบ ,เส้นขอบเขต  ) ส่วนใหญ่เราจะเห็นเป็นพวกงานพิมพ์ซะมากกว่าเช่น Border ในใบประกาศนียบัตร ,การ์ดแต่งงาน ,กรอบรูปภาพ ฯลฯ  ลวดลายของเส้นก็มีทั้งลายที่อ่อนช้อย กรอบลายดอกไม้ลายเถาวัลย์เลื่อย ลายหลุยส์ ลายคลาสสิค และกรอบธรรมดาทั่วๆไป  หรือจะนึกย้อนสมัยไปไว้เด็กที่เมื่อถึงเทศกาลต่างๆแล้ว แต่ละห้องเรียนก็ต้องมีการ์ดจัดบอร์ด ของห้องตัวเอง ซึ่งวัสดุที่ใช้ก็หนีไม่พ้นกระดาษ โดยนำกระดาษมาตัดเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ และอื่นๆ แล้วนำมาตกแต่งตามมุมบอร์ดให้สวยงาม หรือจะติดตรงมุมรูปโปสเตอร์ แต่งานที่ออกมาจะไม่ค่อยมีมิติมากนัก

Quilling Flower

 วันนี้จะมาแนะนำการทำดอกไม้อย่างง่าย  จากรูปตัวอย่างด้านบนสำหรับดอกใหญ่ จะใช้รูปทรงหยดน้ำในการทำจะมี 2 ชั้น ดังนี้ เริ่มจากฐานชั้นล่าง ใช้กระดาษ ขนาด 3 มม. ยาว 20 ซม. ทำ 6 ชิ้น
ชั้นบนใช้กระดาษขนาด 3 มม. ยาว 15 ซม.  ทำ 6 ชิ้น เกสร ใช้กระดาษขนาด 3 มม. ยาว 5 ซม. ทำ 3 ชิ้น เป็นทรงกลมทึบ เมื่อได้รูปทรงทั้งหมดแล้วก็นำมาประกอบเข้าด้วยกันตามรูปด้านบน

การทำดอกพู่(Fringed Flower)

Fringed Flower ดอกพู่

กระดาษที่ใช้ในการทำดอกพู่ ส่วนใหญ่จะใช้ขนาด 3/8" หรือ ประมาณ 10 มม. ส่วนความยาวก็แล้วแต่ตามต้องการ  แต่จากตัวอย่างก็ทำดังนี้
วิธีทำ ตัดกระดาษกว้าง 10 มม. ยาว 25 ซม. แล้วนำมาตัดเป็นเส้นๆ ตามรูปตัวอย่าง เมื่อตัดเสร็จแล้วนำมาม้วนเข้าด้วยกัน จะใช้ Slotted Toll หรือ Needle Tool ในการม้วนก็ได้


การทำดอกพู่

 ม้วนกระดาษตามรูปจนสุดกระดาษแล้วทากาวตรงปลาย เสร็จแล้วก็จัดรูปทรงให้สวยงาม โดยใช้นิ้วเกลี่ยๆ ตรงดอก ให้ดูเป็นพู่ๆ  เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสำหรับการทำดอกพู่

ถ้าได้ไปลองทำแ้ล้วเป็นยังไง ก็กลับมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะค่ะ หรือถ้ามีคำแนะนำ หรือติชมยังไงก็สามารถเขียนได้ที่ Comment ค่ะ อยากให้ช่วยแสดงความคิดเห็นกัน ว่าชอบหรือไม่ยังไง จะยินดีเป็นอย่างมากถ้ามีคนมาช่วยแสดงความคิดเห็น ขอบคุณสำหรับการติดตามนะค่ะ

2553-08-26

Rolling Coil

วิธีการม้วนกระดาษโดยใช้ Slotted Tool

Rolling Coil
การม้วนกระดาษ

หลังจากที่เราได้รู้จักกับรูปทรงพื้นฐานของควิลลิ่งไปแล้ว บทความนี้จะสอนวิธีในการม้วนกระดาษโดยใช้ Slotted Tool ที่เลือกใช้ Slotted Tool เพราะชอบเป็นการส่วนตัว แต่ถ้าใครถนัดจะใช้ Needle Tool ในการม้วนกระดาษก็ได้ค่ะ จากบทความ  Tools for Quilling  เคยบอกไว้ว่าถ้าสนใจจะใช้ Slotted Tool แต่หาซื้อไม่ได้ก็ให้ทำขึ้นเอง วันนี้มีรูป Slotted Tool ที่ทำเองมาให้ดูกันด้วย วิธีทำก็ง่ายแต่ต้องระวังตอนใช้มีดนิดหนึ่ง เรามาเริ่มทำ Slotted Tool กันเลยนะค่ะ

อุปกรณ์มีดังนี้ 
1.ไม้จิ้มฟัน 2. กระดาษทิชชู 3.เทปสำหรับพันท่อน้ำ 4. มีด

 วิธีทำ
นำไม้จิ้มฟันที่มีปลายแหลมด้านเดียว (แต่ถ้าหาไม่ได้ก็เอาแบบปลายแหลม 2 ด้านก็ได้ แต่อาจจะสั้นลงอีกนิดหน่อย เพราะต้องตัดปลายออก 2 ด้าน) เอาด้านไม่แหลมมาทำเป็นช่อง Slotted (ดูจากรูปด้านซ้าย) ตัวช่องจะยาวประมาณ 4-6 มม. ตัวช่องไม่ต้องกว้างมาก กะแค่พอให้กระดาษ 100 แกรมผ่านเข้าไปได้ ถ้ากว้างมากจะหลวมเวลาม้วน  เมื่อได้ช่อง Slotted แล้วทีนี้ก็มาตกแต่งกันหน่อย ไม่งั้นจะใช้งานค่อนข้างลำบาก จากรูปด้านขวาจะใช้กระดาษทิชชูพันให้รอบไม้จิ้มฟัน จะพันหนา พันบาง แล้วแต่ชอบค่ะ ทำแล้วให้ตัวเองจับถนัดจะดีที่สุด โดยเว้นส่วนหัวเอาไว้ แล้วเอาเทปสีขาวที่ใช้สำหรับพันพวกท่อน้ำ มาพันทับอีกครั้ง ที่เลือกมาใช้เพราะตัวเทปจะนิ่ม พันง่ายไม่มีกาวเหนียวๆ ให้เลอะเทอะ  เมื่อพันเสร็จก็จะได้ตามรูปด้านขวา ใช้งานได้ไม่แตกต่างจะรูปด้านซ้ายเลย อาจจะมีติดขัดบ้างเวลาดันกระดาษออกเพราะตรงช่อง Slotted เป็นขุยๆของเศษไม้ ดังนั้นเวลาผ่าเสร็จก็อาจจะเหลาให้เกลี้ยงนิดหนึ่ง จะได้ไม่ติดกระดาษ  อีกอย่างคือตรงรูของกระดาษที่ม้วนเสร็จแล้ว  ลองดูกระดาษที่วางอยู่ข้าง Slotted Tool สีขาว ทรงกลมทึบสีเขียวจะมีรูที่ใหญ่กว่าอันสีฟ้านิดหน่อย ยิ่งถ้าใช้ Needle Tool ในการม้วนกระดาษ รูก็จะยิ่งเล็กลง รู้ข้อแตกต่างแล้วก็เลือกใช้กันตามความชอบได้เลยนะค่ะ ^___^

Slotted Tools
การม้วนกระดาษทำควิลลิ่ง


 เรามาเริ่มม้วนกระดาษกันเลย นำกระดาษที่ตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วมาใส่เข้าไปในช่อง Slotted จากรูปขนาดกระดาษที่ใช้ คือ 3 มม. ยาวเท่ากับ A4 แล้วก็ม้วนไปเรื่อยๆจนสุดกระดาษ เวลาม้วนอย่าม้วนแน่นมาก เพราะจะเอาออกยาก เมื่อม้วนเสร็จแล้วก็ดันกระดาษออกจากช่อง Slotted โดยใช้นิ้วดันตัวกระดาษจากข้างใต้ รูปทรงที่ได้ก็จะเป็นทรงกลมทึบ (Tight Circle) ถ้าเราอยากได้ทรงนี้ก็ทากาวได้เลย เป็นอันเสร็จ แต่ถ้าต้องการเป็นรูปทรงอื่นต้องทำตามรูปข้างล่างนี้


การม้วนกระดาษทำงานQuilling

เมื่อดันกระดาษออกจาก Slotted Tool แล้วก็เลือกขนาดของช่อง Template ว่าต้องการขนาดประมาณไหน(กระดาษยิ่งสั้น ช่องที่เลือกวางก็ยิ่งเล็กลงตาม) เมื่อเลือกได้แล้วก็วางกระดาษที่ม้วนเสร็จแล้วลงไปใน Template วงกลม รอจนกระดาษคลายตัว (ตามรูป)  หยิบขึ้นมาแล้วทากาวตรงปลาย เราก็จะได้รูปทรงวงกลม (Loose Circle) หลังจากนั้นก็สามารถบีบ ดัด เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ตามต้องการ  แต่ถ้ารู้จักรูปทรงพื้นฐานก่อน ก็จะดีกว่า ถ้าใครยังไม่รู้หรือจำแบบไม่ได้ สามารถดูได้ที่ Quilling Basic Shapesจะได้เป็นการเริ่มต้นพื้นฐานในการทำที่ดี :)

เพียงเท่านี้ทุกคนก็สามารถเพิ่มทำควิลลิ่งได้แล้วค่ะ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด มีคนต่างชาติเคยเขียนไว้ว่า "ไม่น่าเชื่อว่าตัวเค้าสามารถทำควิลลิ่งได้ เพราะจากผลงานที่เค้าเห็นมันช่างสวยงาม ละเอียดอ่่อน จนตัวเค้าคิดว่าทำยาก แต่พอได้ลองทำแล้ว ไม่ได้ยากอย่างที่เห็นเลย" นี่ก็เป็นบทความที่ให้กำลังใจ สำหรับผู้ที่สนใจและอยากลองทำควิลลิ่งนะค่ะ ถ้าได้ลองทำแล้วผลงานออกมาเป็นยังไง ก็นำมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะ สำหรับบทความหน้าจะนำผลงานสวยๆ มาให้ได้ดูกันอีก ขอบคุณสำหรับการติดตามนะค่ะ

2553-08-25

Quilling Basic Shapes

รูปทรงพื้นฐานของควิลลิ่ง

Basic Shapes

วันนี้จะมาแนะนำรูปทรงพื้นฐานในการทำควิลลิ่งหลังจากที่ได้เห็นผลงานจากควิิลลิ่งมาพอสมควร จริงๆแล้วเท่าที่เห็น Basic Shapes ตามเว็บต่างๆ จะมีหลายแบบมาก แล้วแต่ใครจะทำแบบมากน้อยขนาดไหน แต่ที่ทำให้ดูวันนี้เป็นรูปทรงพื้นฐานจริงๆ ยังไม่มีการดัดแปลง ดังนั้นเมื่อเราสามารถทำรูปทรงพื้นฐานได้แล้ว เราก็จะนำรูปทรงพื้นฐานดังกล่าวมาดัดแปลงเพิ่มเติมให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้อีกมากมาย งั้นมาเริ่มกันเลยนะ เริ่มจาก Fringed Flower (ดอกพู่) ส่วนใหญ่จะใช้กระดาษขนาด 3/8" มาตัดให้เป็นเส้นๆ แล้วค่อยนำมาม้วน ซึ่งดอกประเภทนี้ก็มีหลายแบบแล้วแต่ว่าใครจะดัดแปลงยังไง ถ้าตัด Fringed Flower ออกรูปที่เหลือจะแบ่งรูปทรงพื้นฐานออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

1.Coil or Circle Shapes คือ รูปทรงที่ต้องมีการม้วนให้เป็นทรงกลมซะก่อน แล้วค่อยนำมาบีบดัดให้เป็นรูปร่างต่างๆอย่างที่เห็น  ได้แก่
Tight Roll or Tight Circle :  ทรงกลมทึบ
Grape Roll  : ทรงกลมทึบนูน
Loose Coil or Loose Circle : วงกลม
Teardrop  : หยดน้ำ
Marquise  :  ดวงตา
Half Circle  : ครึ่งวงกลม
Square   :  สี่เหลี่ยมจัตุรัส
Rectangle  : สี่เหลี่ยมพื้นผ้า
Triangle  :  สามเหลี่ยม
Hexagon  : หกเหลี่ยม

2.Scroll Shapes  คือ รูปทรงที่มีการม้วนแค่บางส่วน แล้วนำมาดัดตกแต่งให้เป็นแบบที่ต้องการ  ได้แก่
V Scroll  : ตัว V
C Scroll  : ตัว C
S Scroll  : ตัว  S
Heart Scroll  :  หัวใจ

เมื่อเราทำรูปทรงพื้นฐานได้แล้วต่อไปก็จะอยู่ที่ไอเดียของแต่ละคนว่าจะเอารูปทรงต่างๆ นั้นมาประกอบเป็นผลงานอะไร หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนได้รู้จักกับควิิลลิ่งมากขึ้นนะค่ะ

2553-08-20

Quilling Miniatures

Quilling Miniatures
finger puppets
นี้เป็นผลงาน Quilling ชิ้นล่าสุดค่ะ Quilling ชิ้นนี้ต่างจากชิ้นอื่นที่เคยทำมา ชิ้นก่อนๆจะเป็นพวกดอกไม้ซะมากกว่า พอทำชิ้นนี้เสร็จก็รีบเอามาให้ดูกันอยากให้ทุกคนได้เห็นว่า Quilling สามารถทำเป็นของได้หลายอย่าง งานชิ้นนี้สั่งซื้ออุปกรณ์จาก Quilledcreations  เป็น Set  Miniatures ซึ่งแปลว่า สิ่งที่มีขนาดเล็กมาก,ขนาดเล็ก,จิ๋ว  ก่อนหน้านี้ก็เคยโพสต์ให้ได้ดูกัีนไปบ้างแล้วกับงานประเภท Miniatures เช่น Quilling Cross แล้วก็ Quilling Spider ตัดสินใจสั่งซื้อเพราะ เป็น Set น่ารักมาก เห็นแล้วชอบทันที อยากได้เทคนิคและวิธีในการทำ ภายในชุดก็จะมีกระดาษ คู่มือ แล้วก็อุปกรณ์พื้นฐานในการทำ Quilling แต่จะมีอุปกรณ์ใหม่เพิ่มมาให้ด้วย ภายในจะมีแบบทั้งหมด 4 แบบคือ   Finger Puppets, Flower Treasure Box, Basket and Bare แต่ตอนนี้ทำได้แค่ 2 แบบเท่านั้นเลยเอามาให้ดูกันก่อน มาดูรูปแรกกันก่อนค่ะ รูปแรกคือ หุ่นกระบอกสำหรับสวมนิ้ว ขนาดเล็กกว่าขวดแชมพูที่แถมตามโรงแรมอีกนะ ลองดูจากรูปที่ 2 ขวดแชมพู สูง 6.5 cm.  หุ่นกระบอกเนี่ยเล็กกว่าเยอะมาก (น่ารักมั้ย)  หุ่นกระบอกนี้ทำไม่ยากค่ะ แต่ค่อนข้างละเอียดนิดหนึ่ง  ตรงลูกตา ก็กลิ้งไปมาได้นะ ถ้าทำไปให้เด็กๆเล่นคงจะชอบมาก เลย :) คิดว่าถ้าว่างก็คงจะลองทำเป็นแบบของตัวเองดู  ไว้ถ้าทำเสร็จจะเอามาโพสต์ให้ดูกันอีกนะค่ะ

Quilling Miniatures
flower treasure box
ส่วนชิ้นนี้คือ กล่องใส่ของค่ะ น่ารักเหมือนกัน ขนาดก็ไม่สูงไปกว่าหุ่นกระบอกเท่าไร ไว้ใส่ของ ใส่ขนม หรือให้เป็นของขวัญ คนที่ได้รับคงจะประหลาดใจน่าดูนะ  ชิ้นนี้ทำยากหน่อย เทคนิคเขามีเยอะ เคยลองให้เพื่อนดู เพื่อนบอกไม่เชื่อว่าทำมาจากกระดาษจริงๆ จนต้องให้ลองจับดู ถึงจะเชื่อ แต่ตัวกระดาษก็แข็งได้รูปนะค่ะเพราะทากาว ทั้งด้านนอกและด้านใน การที่เราทากาวข้างนอกด้วยช่วยให้ชิ้นงานดูมันเงาและสีสดใสขึ้นเยอะ เพราะสีกระดาษจริงๆจะอ่อนกว่านี้ คุ้มค่ากับที่ซื้อจริงๆ เทคนิคเพียบ  อยากบอกว่ากระดาษของเขาเนี่ยดีมากเลยค่ะ ตัวกระดาษมีลายด้วยแต่ไม่มาก (เอ๊ะหรือว่าเราคิดไปเอง)  เคยอ่านเจอว่ากระดาษสำหรับทำ Quilling ของเขาจะมีคุณสมบัติพิเศษ แบบว่าปลอดสารอะไรซักอย่างเนี่ยแหละ แต่จำไม่ได้ว่ามันคืออะไร ก็อย่างที่เคยพูดไปแล้วว่าที่ต่างประเทศเขาทำเป็นจริงเป็นจัง ตั้งเป็นกลุ่มคนรัก Quilling เลย ก็คล้ายกับบ้านเราที่มีกลุ่มคนรักงานถักงานพวก knitting , crochet หรือพวกงานต่อผ้า quilting  แต่ต่างประเทศเขาจะมีงานฝีมือหลากหลายกว่าบ้านเราเยอะ ถ้าใครชอบหรือสนใจลองไป search ดูรูปก็ได้ค่ะ เห็นแล้วจะอึ้ง ผลงานเขาสวยๆ ทั้งนั้นเลย ตั้งใจว่าจะทำให้ได้แบบนั้น  :) ผลงานชิ้นนี้นอกจากจะเป็นของใช้ได้แล้วยังสามารถนำมาตั้งโชว์ได้อีกด้วยนะค่ะ หวังว่าคงจะเป็นที่ถูก ใจสำหรับคนที่ชื่นชอบงานประดิษฐ์จากกระดาษนะค่ะ  ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ

2553-08-19

Gram of paper

พอดีไปเจอบทความนี้เข้า ให้ความรู้เกี่ยวกับแกรมของกระดาษ เลยเอามาแบ่งปันให้ทุกๆคนได้อ่านกัน ถ้าถามว่ารู้จัก แกรมของกระดาษมั้ยก็พอรู้บ้างค่ะ แต่ถ้าถามว่างานแบบไหนควรใช้กระดาษกี่แกรมอันนี้ขอบอกว่าเพิ่งจะรู้จากบทความนี้เหมือนกัน งั้นเรามาทำความรู้จักกับ แกรมกระดาษกันเลยนะค่ะ

แกรมกระดาษคืออะไร

Gram of paper
ถ้าถามว่ากระดาษที่ใช้ถ่ายเอกสารทั่วไปคือกระดาษขนาดเท่าไร หลายคนคงบอกได้ว่าเป็น A4 หนา 70 แกรม กับ 80 แกรม เราคงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากกว่า คือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้วใช่ไหม แต่เราเคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรมที่ว่านี้ มันคืออะไรวัดกันยังไง จริง ๆ แล้ว คำว่าแกรมนี้ ก็คือกรัม (gram) นั่นเอง เป็นหน่วยที่เราใช้วัดมวลกระดาษว่า เมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่ง ๆ ที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตรมาชั่งแล้ว จะมีน้ำหนักกี่กรัม (แกรม) ฉะนั้น กระดาษขนาด 100 แกรม จึงหมายถึงกระดาษ ที่มีน้ำหนัก 100 กรัม / ตารางเมตร

ในทางกระบวนการพิมพ์แล้ว กระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย (กระดาษบาง) จะทำให้แสงส่องผ่านได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้วจึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้าม ทำให้ดูแล้วไม่สวยงามแล้วยังรบกวนการอ่านด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะต้องให้มีความสมดุลใน เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับประเภทของกระดาษที่จะนำไปใช้งาน, จำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่จะพิมพ์ให้ดี ด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไป เพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุน ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อย การใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดหน่อย แต่ก็จะทำให้หนังสือไม่บางจนเกินไป ดูแล้วสวยงามไม่น่าเกลียด แกรมที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 - 80 แกรม

ส่วนการพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้ จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือ ไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็น หน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปก ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปก และจำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่าง ๆ จะเป็นประมาณนี้

บิลเล่มทั่วไป ถ้ามีชั้นเดียว 55-80 แกรม
บิลเล่มทั่วไป ถ้ามีหลายชั้น 45-60 แกรม
สิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา หรือหน้าในของ dictionary 40-50 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด70-80 แกรม
ซองจดหมายมาตรฐาน เบอร์ 9 ใช้ 80 - 100 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์ 105 - 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า 230 แกรมขึ้นไป
แฟ้มงาน แนะนำตั้งแต่ 210 แกรม ขึ้นไป

ที่มาของบทความนี้จาก : http://www.ksvision.co.th/kn_gram.html

2553-08-17

Tools for Quilling

อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับทำ Quilling มีดังนี้

Supplies & Tools

1.Slotted tool ตรงปลายเข็มเป็นช่อง(Slot) ไว้สำหรับการม้วนกระดาษ Slotted tool มีหลายแบบหลายขนาด ในภาพนี้จะมี 2 แบบ เป็นแบบสั้นกับแบบยาว โดยส่วนตัวชอบแบบยาวมากกว่า เพราะจับถนัดมือ ชอบใช้ Slotted tool ในการม้วนกระดาษมากกว่า Needle tool เพราะใช้ง่าย ถ้าใครต้องการ Slotted tool แต่หาซื้อไม่ได้ก็อาจจะทำเองโดยใช้ ไม้จิ้มฟันเลือกแบบที่มีปลายแหลมด้านเดียว ส่วนอีกด้านให้นำมาผ่าเป็นช่อง(Slot)ไม่ต้องกว้างมากแค่พอให้กระดาษผ่านเข้าไปได้ ลองดูตามรูป ส่วนปลายแหลมก็หาเทปมาพันกันไว้จะได้ใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

2.Needle tool หรือ เ้ข็มควิลลิ่ง  ก็เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการม้วนกระดาษ พันกระดาษ  หรือจะไว้สำหรับทากาว ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้เข็มธรรมดาก็ได้ ถ้าใช้ Needle tool ในการม้วนกระดาษ อาจจะยากซักหน่อยสำหรับมือใหม่ แต่มีเทคนิคคือ ก่อนม้วนกระดาษก็เอานิ้มจุ่มน้ำนิดๆ เพื่อที่ว่าเวลาม้วนกระดาษ กระดาษจะได้ไม่ลื่นหลุดไป

ที่มา:Quilledcreations
3-4. Board & Template ที่จริงอุปกรณ์ในข้อนี้จะมีลักษณะคล้ายๆรูปด้านขวา (Circle template board) คือจะมีตัว Template วางไว้ด้านบนตัว Board เพื่อเวลาที่เราม้วนกระดาษเสร็จแล้วก็จะเอากระดาษที่ม้วนนั้นมาวางไว้ใน Template ตามขนาดที่เราต้องการเพื่อให้กระดาษแต่ละอันมีขนาดเท่าๆกัน ที่ต่างประเทศจะมี Template หลายแบบ แต่ลักษณะจะคล้ายๆกัน ส่วนในรูปด้านบนจะมีแค่ตัว Board อย่างเดียวลักษณะคล้ายๆจุกไม้คอร์กบนขวดไวน์ เราสามารถจะเอาเข็มหมุุดทิ่มลงไปได้เพื่อยึดและจัดทรงรูปกระดาษให้ได้ตามต้องการ (Tip:ถ้ามีก็ควรห่อไว้ด้วยพลาสติกอีกชั้นก่อนนำมาใช้ เพื่อเวลาทากาวบนกระดาษ กาวจะได้ไม่ติดที่ตัว Board เป็นการรักษาให้ใหม่อยู่เสมอ) ถ้าไม่มีก็สามารถใช้โฟม, ฟองน้ำ หรืออะไรก็ได้แล้วแต่สะดวก บางคนก็จะใช้แผ่น CD ที่ไม่ใช้แล้วมาลอง หรือไว้วางผลงาน ส่วนตัว Template ก็หาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนเลือกแบบตามใจชอบ เท่าที่เคยหา Template ในบ้านเราจะไม่มีแบบตัวอย่างด้านขวานะค่ะ

5.ที่คีบ ใช้สำหรับคีบของที่มีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับการทำ Quilling มากเพราะชิ้นส่วนแต่ละอันก่อนที่จะนำมาประกอบเข้าด้วยกันนั้นจะมีขนาดเล็กถึงเล็กมาก  บางครั้งการใช้มือหยิบก็อาจจะไม่สะดวกเท่ากับใช้ที่คีบ

6.กระดาษสำหรับทำควิลลิ่ง อย่างที่เคยบอกไปแล้วว่าในบ้านเราไม่ค่อยมีกระดาษสำหรับทำควิลลิ่งโดยเฉพาะขาย  ดังนั้นกระดาษที่จะใช้ทำจึงต้องเลือกและหามาตัดเอง ซึ่งกระดาษที่เหมาะสมที่สุดคือกระดาษ 100 แกรม แต่ก็สามารถใช้ขนาดอื่นๆได้บ้างตามความเหมาะสม ของชิ้นงานที่จะทำ แต่ก็เคยเห็นมีบางที่ขายกระดาษที่ตัดเป็นเส้นๆแล้ว มีหลายขนาดแต่ไม่มาก แพ็กขายเป็นห่อๆ ข้อดีก็คือสะดวก ขอบกระดาษเรียบเสมอกัน ข้อเสียคือมีขนาดและความยาวที่จำกัด เพราะงานบ้างอย่างต้องใช้กระดาษที่มีขนาดยาวๆ หรือขนาดกระดาษที่มีความกว้างแตกต่างกัน ผลงานถึงจะออกมาสวย ส่วนสีกระดาษก็มีให้เลือกจำกัด ก็แล้วแต่ว่าใครสะดวกหรือชอบแบบไหนก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบค่ะ ส่วนขนาดกระดาษที่ใช้ทำ Quilling จะมีอยู่หลายขนาด สามารถดูได้ที่  History of Quilling

7. กาว กาวที่ใช้ควรเป็นกาวสำหรับทำงานกระดาษโดยเฉพาะ โดยส่วนตัวจะใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะติดแน่น แห้งเร็ว ไม่ิ้เป็นคราบ

8. เข็มหมุด  ใช้สำหรับช่วยยึดตัวกระดาษ  หรือไว้ใช้ทากาวก็ได้ และถ้าให้ดีควรมีหมอนสำหรับปักด้วย เวลานำมาใช้จะได้สะดวก

9. ไม้จิ้มฟัน ไว้สำหรับทากาว ซึ่งดีกว่าใช้เข็มหมุดค่ะ พอใช้จนเลอะเทอะมากๆ ก็สามารถทิ้งได้เลย ไม่ต้องคอยมาทำความสะอาดเหมือน เข็มหมุด หรือ เข็มควิลลิ่ง

10. กรรไกร  และควรมีคัตเตอร์สำหรับตัดกระดาษด้วย ที่สำคัญใบมีดต้องคมเสมอ เพราะเวลาใช้ตัดกระดาษจะออกมาสวยและเรียบกว่า

11. ไม้บรรทัด 

2553-08-15

History of quilling

ที่มา : martinaquill
บทความที่ผ่านๆมาเคยแต่โชว์ผลงานจาก Quilling ให้ได้ดูกัน แต่ยังไม่เคยบอกถึงประวัติความเป็นมาของ Quilling ให้ได้รู้จักกันซักที บทความนี้เลยนำมาลงไว้ค่ะ เป็นประวัติคร่าวๆ นะค่ะ อธิบายตามความเข้าใจของตัวเอง ถ้าใครอยากทราบประวัติเต็มๆ ก็ลองไป search หาดูได้ค่ะ โดยใช้คำนี้ 'History of Quilling' ต้องบอกนิดหนึ่งค่ะ คำนี้ QUILLING อ่านว่า ควิลลิ่ง ต่างจากคำนี้ QUILTING อ่านว่าควิล'ทิง หรืออาจเรียกสั้นๆว่า Quilt (ควิลทฺ) ซึ่งเป็นงานฝีมือที่เกี่ยวกับการต่อผ้าค่ะ  แต่ออกเสียงคล้ายกันมาก เพราะจากประสบการณ์ที่เคยถามคนอื่นเกี่ยวกับ Quilling ทุกคนจะพูดถึง Quilting ทั้งนั้น อาจเป็นเพราะเขียนและออกเสียงคล้ายๆกัน  เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาทำความรู้จักกับ Quilling ใ้ห้มากยิ่งขึ้นดีกว่าค่ะ

ที่มา :allthingspaper
 Quilling(ควิลลิ่ง) or Paper Filigree คือ ศิลปะที่นำกระดาษที่ตัดเป็นเส้นๆ มาม้วนและดัด บีบ รูปทรงให้ได้ตามที่เราต้องการ หรือตามรูปทรงพื้นฐาน จากนั้นจึงนำรูปทรงต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นสิ่งที่เราต้องการ เช่น ดอกไม้ สัตว์ ตัวอักษร ตัวเลข ของใช้ ของโชว์ ตุ๊กตา ตกแต่งการ์ดในเทศกาลต่างๆ สมุดสะสมภาพ ที่ขั้นหนังสือ บัตรอวยพร บัตรเชิญไปงานแต่งงาน และอื่นๆ อีกมากมาย กระดาษที่ใช้ทำ Quilling ก็มีหลายเฉดสีน่าจะมากกว่า 250 สี (เห็นมั้ยเขาทำ Quilling เป็นจริงเป็นจังขนาดไหนมีสีให้เลือกมากมาย) ส่วนขนาดกระดาษก็มีหลายขนาด มีตั้งแต่ 1/16" (1.5 mm.) 1/8"(3 mm.) 1/4" (6 mm.) 3/8"(9mm.) แต่ขนาดที่ใช้กันทั่วไปจะเป็น 1/8" ที่ต่างประเทศเขาจะมีกระดาษสำหรับทำควิลลิ่งโดยเฉพาะ ตัดเป็นเส้นๆ เรียบร้อยพร้อมใช้ทันที


ที่มา : appelquilling
Quilling เิริ่มเกิดขึ้นในสมัยเรเนซองส์ (Renaissance)  ประมาณศตวรรษที่ 16-17 ประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี มีแม่ชีและพระสงฆ์ได้ใช้ Quilling ในการตกแต่งปกหนังสือพระคัมภีร์,ภาพศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตัวอย่างดังภาพต่อไปนี้ ซึ่งกระดาษที่นำมาใช้ก็นำมาจากขอบหนังสือที่เป็นสีทองหรือสีเงิน  บางครั้งการออกแบบQuilling ก็เลียนแบบมาจาก งานที่ทำจากเหล็ก(ironwork)ซึ่งออกแบบให้มีลวดลายที่อ่อนช้อย  ถ้านึกไม่ออก ลองนึกถึงพวกเหล็กดัดตามรั้ว เก้าอี้หรือพวกโต๊ะที่เป็นลายสวยๆ ออกแนวตะวันตก  ที่เราเคยเห็นกันนะแหละค่ะ ด้วยความที่สมัยนั้นกระดาษหายาก  ศิลปะชนิดนี้จึงได้เลือนหายไป ว่ากันว่า Quilling ในสมัยก่อนเป็นงานเฉพาะสตรีชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะทำได้เพราะว่ากระดาษมีราคาแพงมาก  ดังนั้นคนธรรมดาสามัญชน ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ดังนั้นศิลปะชนิดนี้จึงแพร่อยู่เฉพาะในกลุ่มคนเล็กๆเท่านั้น


ที่มา : quillingpacth
วันนี้ Quilling ได้กลับมารับความนิยมอีกครั้งในกลุ่ม Quillers(คนที่ทำ Quilling) ในทุกทวีป มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ๆ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะจากกระดาษชนิดนี้ ด้วยเหตุที่ว่าสมัยนี้กระดาษหาได้ง่าย มีราคาถูก และ Quilling ก็เป็นงานประดิษฐ์จากกระดาษที่สวยงามมาก ผลงานที่ออกมานั้นสวยงามและดูดีจนบางคนไม่อยากจะเชื่อว่าทำมาจากกระดาษจริงๆ นี้จึงเหตุให้ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว (ในต่างประเทศ)

แต่ถ้าพูดถึงในบ้านเราก็อาจไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ไม่รู้ว่าเพราะอะไร ได้แต่หวังว่า ศิลปะชนิดนี้จะได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเหมือนในต่างประเทศเขา เพราะถ้าคุณได้รู้จัก Quilling แล้วก็จะอดใจที่จะไม่หลงใหลในความสวยงามไม่ได้ และอาจคิดไม่ถึงว่างานที่คุณเห็นอยู่นี้ทำมาจากกระดาษจริงๆ แค่กระดาษเพียงไม่กี่เส้น เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน กลายเป็นผลงานที่สวยงามและเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานชิ้นนั้นๆอย่างไม่น่าเชื่อ สำหรับบทความต่อๆไป จะเขียนถึงอุปกรณ์ในการทำ Quilling และวิธีในการทำ Quilling เบื้องต้น นะค่ะ  ขอจบประวัติของควิลลิ่งแต่เพียงเท่านี้ค่ะ สวัสดีค่ะ :)

2553-08-11

Mother's Day card with quilling and iris folding

Mother's day card with quilling and iris foldingMother's day card with quilling and iris folding

วันแม่ปีนี้ทำการ์ด และดอกมะลิให้แม่เอง โดยใช้ ควิลลิ่ง ให้การทำดอกไม้และตัวหนังสือ ส่วนตรงหัวใจ ทำโดยใช้ Iris Folding เป็นการพับกระดาษแล้วติดตามแบบ ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่ากระดาษมีรอยพับทับๆ สลับกันไป ซึ่งเป็นงานประดิษฐ์จากกระดาษที่สวยและง่ายอีกงานหนึ่ง  ซึ่งมี pattern แบบต่างๆมากมายตอนแรกไม่ได้ตั้งใจจะทำดอกมะลิด้วย แต่ว่าลองเดินหาซื้อดอกมะลิก็ไม่มีแบบที่ถูกใจ มีแต่แบบเดิมๆ เหมือนทุกปี ดูตู้โชว์ที่บ้าน จะเห็นดอกมะลิที่เคยให้แม่ตั้งแต่สมัยเด็กๆ คิดว่าแบบสมัยก่อนสวยและคลาสสิกมากกว่า เมื่อหาซื้อไม่ได้เลยลองทำดอกมะลิเอง  โดยใช้ควิลลิ่งและPaper Punch ในการทำ 
Paper Punch คือ เครื่องเจาะกระดาษที่มีหลายๆแบบ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ ตุ๊กตา ลูกโป่ง โบว์ ตัวโน๊ต ฯลฯ ซึ่งมีเยอะมากแต่บ้านเรามีแบบให้เลือกน้อย ที่เห็นส่วนใหญ่นำเข้าทั้งนั้น แล้วก็มีหลายขนาดตั้งแต่เล็ก ไปถึงใหญ่ แบบที่เลือกมาทำดอกมะลิใช้รูปวงกลม กับ หัวใจ ขนาดเล็ก ได้แบบมาจากดอกไม้ปลอมในบ้าน  ที่เลือกทำดอกมะลิแค่ดอกเดียวเพราะอยากให้เด่น อีกอย่างการ์ดนี้ก็รวมทั้ง วันแม่และวันเกิด ก็อยากให้มีดอกไม้แบบอื่นบ้าง นี่ถ้าไม่ได้ใช้กระดาษสีทองก็อาจจะมีดอกไม้แบบอื่นๆมากยิ่งขึ้น

Handmade Card with Quilling

Handmade card with quilling

   แฮนเมดการ์ดใบนี้ทำให้น้องตอนวันเกิด ใช้ Quilling ในการตกแต่ง มีทั้งดอกไม้ และ แมงมุม ซึ่งแมงมุมดูออกจะน่ารักมากกว่า :) จริงๆตรงขอบขาวๆด้านข้างโรยด้วยกากเพชร แต่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ การ์ดแบบนี้เรียกว่า Spring Card ได้แบบการ์ดจาก Spring Card Template ซึ่งเป็นการ์ดที่ทำได้ง่ายกว่าที่คิด  ใครสนใจอยากลองทำ Spring Card ก็ลองไป print แบบออกมาแล้วทำตามคำอธิบาย รับรองไม่เกิน 5 นาที ก็จะได้ Spring Card ที่แปลกไม่เหมือนใคร แล้วนำมาตกแต่งตามสไตล์ของตัวคุณเอง เท่านี้ก็จะได้ แฮนเมดการ์ดที่ทำได้ง่ายๆอีกหนึ่งใบ

Quilling Cross

Quilling Cross


 ชอบ Quilling Cross ชิ้นนี้มาก เป็นกางเขนที่ใช้ Quilling ในการทำ โดยนำแบบ มาจาก The Art of Quilling  จริงๆอยากได้สีอื่น แต่กระดาษที่มีอยู่มีสีให้เลือกน้อย   ที่ได้แบบมาก็เพราะว่า เว็บนี้เขาให้ Quilling ebook ฟรี ถ้าเราสมัครที่เว็บของเขา ใครอยากได้ก็ลองไปสมัครดูนะค่ะ ไฟล์ที่ได้เป็นไฟล์ PDF ประมาณ 27 หน้า  หนังสือที่ได้มา มีตั้งแต่ประวัติของควิลลิ่ง เทคนิคการม้วนกระดาษเป็นรูปพื้นฐานต่างๆของ Quilling แต่ เทคนิคที่น่าสนใจคือการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ โดยลองวาดรูปที่ต้องการในกระดาษโดยใช้รูปทรงพื้นฐานของ Quilling มาประกอบเข้าด้วยกัน  จากนั้นจึงนำรูปที่วาดมาเป็นแบบแล้วม้วนกระดาษตามรูปที่เราวาดไว้ เท่านี้เราก็จะได้ผลงานใหม่ๆ ออกมา ซึ่งในหนังสือนี้ยังมีตัวอย่างอีกหลายแบบ แต่ยังไม่มีเวลาลองทำเลย ถ้าได้ทำแล้วจะเอามาโพสต์ให้ดูนะค่ะ